วันนี้เราจะขอมาให้ความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างบ้าน ที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยได้ยินถ้าไม่ได้อยู่ในวงการก่อสร้าง นั่นคือระบบ Cast In Place หรือที่ภาษาช่างจะเรียกว่า "หล่อในที่"
มันคือยังไงกันนะ ไอ้หล่อในที่เนี่ย คือถ้านอกที่จะไม่หล่อเหรอ จะน่าเกลียดเลยเหรอ อ้ะไม่ช่ายยยย เค้าหมายถึงการหล่อคอนกรีตต่างหาก ก่อนอื่นขอเกริ่นวิธีการสร้างบ้านที่นิยมในปัจจุบัน ที่เราคุ้นเคยกันนั่นก็คือ 1. ก่ออิฐฉาบปูน 2. PreCast หรือ การหล่อคอนกรีตสำเร็จรูปมาตั้งประกอบ และแบบที่ 3. นั่นก็คือ Cast In Place นั่นเอง
การก่อสร้างแต่ละแบบนั้นมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน มีความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสถาณะการณ์ความจำเป็นและความคุ้มค่า การก่อสร้างแบบ Precast และ Cast In Place นั้นมักจะอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร เพราะจำเป็นจะต้องลงทุนค่าแบบในการหล่อคอนกรีต และหล่อแบบบ้านเหมือนๆกันหลายๆยูนิทจึงจะคุ้มค่าแบบที่ลงทุน
การก่อสร้างแบบก่ออิฐฉาบปูน และ Precast นั้นคงไม่ต้องพูดถึงในบทความนี้ เพราะมีให้หาอ่านได้ในหลายๆที่ เรามาพูดถึงแบบ Cast In Place กันเลยดีกว่า
การก่อสร้างแบบ Cast In Place นั้นพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ การนำแบบหล่อคอนกรีต ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก, หลูมิเนียม, หรือพลาสติก มาประกอบป็นรูปทรงที่ออกแบบ ใส่เหล็กเสริมความแข็งแรงเข้าไป และเทคอนกรีตนั่นเอง
ตัวอย่างการประกอบแบบ Aluminium Formworks ก่อนเทคอนกรีต แบบบ้าน Harrow โครงการ B-Home ม.พายัพ
ข้อดีของการก่อสร้างแบบ Cast In Place นั้นคล้ายๆกับ Precast นั่นก็คือไม่ต้องมีเสาไม่มีคาน ใช้ผนังรับแรง ตัวผนังนั้นแข็งแรงเพราะเป็นคอนกรีตเสร็มเหล็กไม่ใช่อิฐ แต่ข้อที่แตกต่างกับ Precast นั่นก็คือผนังจะไม่มีรอยต่อเพราะเป็นคอนกรีตชิ้นเดียว จึงไม่ต้องกลัวเรื่องการรั่วซึมระหว่างรอยต่อนั่นเอง
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบ
Cast In Place | Pre Cast | ก่ออิฐฉาบปูน | |
ความแข็งแรง | แข็งแรงมาก | แข็งแรงมาก | แข็งแรงน้อยกว่า |
เสา / คาน | ไม่มี | ไม่มี | มี |
การรั่วซึมตามรอยต่อผนัง | ไม่มี | มี | ไม่มี |
การป้องกันเสียง | ดีมาก | ดีมาก | พอสมควร |
การต่อเติมและดัดแปลง | ทำได้ยาก ต้องปรึกษาวิศวกร | ทำได้ยาก ต้องปรึกษาวิศวกร | ได้ ขอเพียงไม่กระทบกับเสาและคาน |
ความรวดเร็วในการก่อสร้าง | ต้องเสียเวลาประกอบแบบ แต่เร็วกว่าก่อฉาบ | เร็วมาก หากมีแบบหล่ออยู่แล้วในโรงงาน | ช้า และใช้แรงงานเยอะ |
จะเห็นได้ว่า Cast In Place นั้นถึงแม้มีข้อดีหลายอย่าง แต่ก็ยังคงข้อเสียเรื่องไม่สามารถทุบผนังออกได้ตามใจชอบเพราะผนังแต่ละจุดออกแบบมาให้รับน้ำหนักด้วยนั่นเอง
Comments